วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

วันกาชาดไทย

ความเป็นมา
        จากเหตุการณณ์เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2402 ที่มีการสู้รบอย่างดุเดือดระหว่างกองกำลังทหารของฝรั่งเศสร่วมกับอิตาลี กับกองกำลังทหารของออสเตรีย ซึ่งมีทหารที่บาดเจ็บและล้มตายเป็นจำนวนมาก เพราะขาดแคลนแพทย์และพยาบาล ญัง อังรี ดูนังต์ (Jean Henri Dunant) นายธนาคารชาวสวิสได้ประสบพบเห็นเหตุการณ์อันน่าสลดใจเหล่านั้น จึงได้รวบรวมบรรดาหมอชาวออสเตรียและกลุ่มนักเรียนแพทย์อิตาเลียนมาช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้แก่ทหารที่ได้รับบาดเจ็บ โดยไม่เลือกว่าเป็นฝ่ายมิตรหรือศัตรู
        เมื่อเขาเดินทางกลับถึงกรุงเจนีวา ก็ได้เขียนหนังสือขึ้นเล่มหนึ่ง บรรยาถึงเหตุการณ์ที่ได้ประสบพบเห็น และเสนอแนะว่า ควรจะมีการตระเตรียมอุปกรณ์ และเครื่องไม้เครื่องมือในการพยาบาลให้พร้อมในยามสงบ เมื่อมีสงครามเกิดขึ้นจะได้ช่วยเหลือทหารที่บาดเจ็บทุกฝ่ายได้ทันท่วงที และขอให้ทหารฝ่ายใดผ่ายหนึ่งอย่ายิงคนที่ช่วยบรรเทาทุกข์เหล่านี้ ซึ่งบริการเหล่านี้ยังจะให้ประโยชน์ในยามที่เกิดทุพภิกขภัย เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วม ฯลฯ อีกด้วย
        จากข้อเสนอแนะดังกล่าว ทำให้เกิดการประชุมระหว่างประเทศขึ้น ณ กรุงเจนีวา โดยมีผู้แทนจาก 16 ประเทศเข้าร่วมประชุม โดยมีข้อสรุปว่า
  • 1. ควรมีสมาคมขึ้นในทุกประเทศ เพื่อช่วยบรรเทาทุกข์แก่ผู้คนในยามสงคราม
  • 2. ในยามสงคราม ทหารที่บาดเจ็บ ผู้ที่คอยดูแลคนบาดเจ็บ ตลอดจนเครื่องหมายกาชาด (กากบาทสีขาวบนพื้นสีแดง) ปรากฏอยู่ที่ใด จะต้องถือว่าเป็นกลาง ไม่ใช่คู่สงคราม

ผลจากการประชุม

        ผลการประชุม ก่อให้เกิดสภากาชาดสากลขึ้น ณ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่เป็นกลาง โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเจนีวา ต่อมาในปี พ.ศ.2413 ได้มีประเทศสมาชิก 22 ประเทศลงนามในอนุสัญญาเจนีวา เพื่อตกลงที่จะยอมรับและปฏิบัติตามข้อตกลงของสภากาชาด คือ
  • 1. ดูแลรักษาเยียวยาทหารที่ได้รับบาดเจ็บในยามสงคราม
  • 2. ดูแลเชลยศึกทุกคนให้ได้รับการปฏิบัติอย่างถูกต้องเหมาะสม
  • 3. ให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์แก่ผู้ประสบภัยทุกอย่างและทุกแห่งทั่วโลก
        จากการบุกเบิกของ ญัง อังรี ดูนังต์ ร่วมกับทนายความคนสำคัญ คือ กุสต๊าฟ มัวนิเอร์ ทำให้ขบวนการกาชาดประสบความสำเร็จ และกลายเป็นสภากาชาดสากล มีประเทศสมาชิกเข้าร่วมกว่า 74 ชาติ โดยสภากาชาดของแต่ละประเทศจะเป็นองค์กรอิสระ สามารถจัดวางแผนงานของตนให้เหมาะสมกับความต้องการของตนเองได้ สภากาชาดสากลจึงกำหนดให้วันที่ 8 พฤษภาคมของทุกปี เป็น "วันกาชาดสากล"

กิจการกาชาดในประเทศไทย

        ได้เริ่มต้นขึ้นจากการจัดตั้งสภาอุณาโลมแดงขึ้น เมื่อ พ.ศ.2457 ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นสภากาชาดไทย คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ ได้ให้การรับรองสภากาชาดไทย เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ.2463 และสันนิบาตสภากาชาดได้รับเข้าเป็นสมาชิก เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ.2464 ในประเทศไทยได้ก่อตั้งสภากาชาดเพื่อช่วยเหลือทหาที่ได้รับบาดเจ็บในกรณีพิพาท ร.ศ.112 เมื่อเหตุการณ์สงบทางราชการให้ทำเป็นองค์การสาธารณกุศลเพื่อทำประโยชน์และบรรเทาทุกข์ภัยของประชาชนต่อไป

 กิจกรรมวันกาชาดสากล

        องค์การกาชาดได้จัดให้มีงานประจำปีทุกปี การจัดงานกาชาดนั้นก็เพื่อเป็นการเผยแพร่หลักการ, การดำเนินงาน, ผลงาน และกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งหาเงินเพื่อมาใช้ในกิจกรรมสาธารณกุศลไว้รับใช้ประชาชนที่เดือดร้อนต่อไป

วันกองทัพไทย

 ความเป็นมาของวันกองทัพไทย

ภาพ:Nare_5.jpg

         ในปีพุทธศักราช 2502 กระทรวงกลาโหมได้กำหนดให้วันที่ 8 เมษายน ซึ่งเป็นคล้ายวันสถาปนากระทรวงกลาโหม เป็นวันกองทัพไทย ครั้นต่อมาเมื่อ พ.ศ.2522 สมัยที่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เห็นว่าวันกองทัพไทยควรเป็นวันที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ที่แสดงถึงความกล้าหาญและเสียสละ จึงได้กำหนดเอาวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีได้รับชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา เป็นวันกองทัพไทย ซึ่งตรงกับวันที่ 25 มกราคม ของทุกปี
         วันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถี กับพระมหาอุปราชาแม่ทัพพม่า ซึ่งตรงกับวันเดือนปีของจันทรคติ คือวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง ทั้งนี้ได้มีผู้คำนวณไว้ว่าตรงกับวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2136
         คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2523 กำหนดให้วันที่ 25 มกราคม ของทุกปี เป็นวันกองทัพไทย และอนุมัติให้เป็นวันหยุดราชการของกระทรวงกลาโหม โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2524 เป็นต้นมา
         พลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์ ซึ่งอดีตท่านเคยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขและคณะกรรมการที่ปรึกษาอีกหลายหน่วยงาน ได้ทำการศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจังในขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งเลขาธิการมูลนิธิพระดาบส ได้พบความคลาดเคลื่อนของวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถี และวันที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงปราบดาภิเษก จึงได้มีหนังสือพร้อมข้อมูลของวันกองทัพไทย เสนอไปสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กราบเรียนนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2539 เพื่อขอให้พิจารณาแก้ไข วันสำคัญทางประวัติศาสตร์ ของชาติไทยที่คลาดเคลื่อนให้ถูกต้อง ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ไทย 2 เรื่องคือ
         1. วันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถี กับพระมหาอุปราชา หรือ “วันกองทัพไทย” ซึ่งปัจจุบันกำหนดไว้ คือวันที่ 25 มกราคม ที่ถูกต้องคือ วันที่ 18 มกราคม
         2. วันที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตราธิราชของไทย ซึ่งปัจจุบันกำหนดไว้คือ วันที่ 28 ธันวาคม ที่ถูกต้องคือ วันที่ 27 ธันวาคม
         - สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้ส่งเรื่องมอบให้คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งมี หม่อมเจ้าสุภัทรดิศดิศกุล เป็นประธานกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย พิจารณาเรื่องดังกล่าว โดยมีผลการพิจารณาดังนี้
          “….คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย ได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวแล้วมีความเห็นว่า
         1. วันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถี กับพระมหาอุปราชา หรือวัน “กองทัพไทย” ได้เคยมีการคำนวณไว้ เมื่อประมาณ 40 ปีมาแล้ว โดยหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ว่าตรงกับวันที่ 18 มกราคม และ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร รองประธานกรรมการ ในคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย ได้คำนวณ และเขียนบทความไว้ว่าตรงกับวันที่ 18 มกราคม เช่นกัน
         2. สาเหตุที่ได้กำหนดให้วันที่ 25 มกราคม เป็นวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรง กระทำยุทธหัตถีฯนั้น ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณนคร รองประธานกรรมการ ให้ข้อสันนิษฐานว่า ผู้คำนวณสำคัญผิดว่า วันเถลิงศกตรงกับวันที่ 15 หรือ16เมษายนมาตลอด แต่แท้จริงวันเถลิงศก เพิ่งมาตรงกับวันที่ 15 เมษายน เมื่อ พ.ศ.2443 และเริ่มตรงกับวันที่ 15 เมษายนบ้าง วันที่ 16 เมษายนบ้าง มาตั้งแต่ พ.ศ.2474 ซึ่งในปีที่กระทำยุทธหัตถี วันเถลิงศก ตรงกับวันศุกร์ที่ 9 เมษายน แต่ผู้คำนวณคิดว่า วันเถลิงศกปีนั้น ตรงกับวันศุกร์ที่ 16 เมษายน จึงคำนวณวันผิดไป 7 วัน
         3. การที่จะให้มีการเปลี่ยนแปลง วันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถี กับพระมหาอุปราชา หรือวัน “กองทัพไทย” ซึ่งได้กำหนดไว้ว่า เป็นวันที่ 25 มกราคม มาเป็นวันที่ 18 มกราคม นั้น เป็นเรื่องของส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้อง จะต้องพิจารณาเอง เพียงแต่มีหนังสือแจ้งให้ทราบว่า วันที่ถูกต้องตามการคำนวณ คือวันที่ 18 มกราคม ก็คงจะเพียงพอแล้ว….”

ภาพ:Nare_3.jpg

         - สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาของคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย ให้ทราบดังนี้
          “….ตามที่ท่านได้มีหนังสือกราบเรียนนายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้พิจารณาแก้ไขวันสำคัญ ทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย ที่คลาดเคลื่อนให้ถูกต้อง คือ
         1. วันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา หรือวัน “กองทัพไทย” ซึ่งปัจจุบัน กำหนดให้ตรงกับวันที่ 25 มกราคม ที่ถูกต้องคือ วันที่ 18 มกราคม….. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้มอบให้ คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย พิจารณาเรื่องดังกล่าว และกราบเรียนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว มีบัญชาให้แจ้งผลการพิจารณา ของคณะกรรมการฯ ให้ท่านทราบ….”
         - หนังสือสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่อ้างถึงนี้ได้แจ้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมทราบด้วย แต่ไม่ทราบผลการพิจารณาของผู้ที่เกี่ยวข้องของกระทรวงกลาโหม
         - เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ.2540 พลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์ ได้มีหนังสือเสนอกองบัญชาการทหารสูงสุด ขอให้เปลี่ยนแปลงวันกองทัพไทย โดยท่านให้ข้อคิดเห็นว่า ท่านได้ศึกษาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โดยใช้หลักวิชาโหราศาสตร์ดวงดาว ทั้งฮินดู และตะวันตกมาคำนวณ เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ของวันดังกล่าวว่าถูกต้องหรือไม่?
         - จากเอกสารที่เสนอกองบัญชาการทหารสูงสุด กรมยุทธศึกษาทหาร ได้นำเสนอในที่ประชุมกรมเสนาธิการร่วม กองบัญชาการทหารสูงสุด มีรายละเอียดดังนี้
         ตามที่ พล.ต.ต.สุชาติ เผือกสกนธ์ นายตำรวจนอกราชการ ได้มีหนังสือนำเรียน ผบ.ทหารสูงสุด เสนอให้พิจารณาเปลี่ยนวันกองทัพไทย จาก 25 ม.ค. เป็น 18 ม.ค. ซึ่งเป็นวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถีชนะสมเด็จพระมหาอุปราชา ยศ.ทหาร มีข้อพิจารณาดังนี้
         1. การประชุมสภากลาโหม ครั้งที่ 12/22 เมื่อ 22 ธ.ค.22 ได้มีมติ กำหนดให้วันที่ 25 ม.ค. ซึ่งเป็นวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถี ชนะสมเด็จพระมหาอุปราชา เป็นวันกองทัพไทย ซึ่ง ครม.ได้ลงมติเห็นชอบและอนุมัติ และเมื่อ 28 มิ.ย.27 ที่ประชุมสภากลาโหม ได้มีมติยืนยันว่าวันที่ 25 ม.ค. ถือเป็นวันกองทัพไทย ซึ่งเป็นที่ยอมรับของทางราชการแล้ว และหากมีการเปลี่ยนแปลง วันที่กระทำยุทธหัตถี รัฐบาลต้องประกาศเปลี่ยนแปลง
         2. สำนักนายกรัฐมนตรีได้ยืนยัน และแจ้งให้ กห.ทราบ เมื่อ 21 ส.ค.41 ว่าวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถี ที่ถูกต้องคือ วันที่ 18 ม.ค. ประธานให้ใช้วันที่ 25 ม.ค. เป็นวันกองทัพไทยตามเดิม จนกว่าทางรัฐบาล จะมีหนังสือแจ้งว่าวันใด เป็นวันกระทำยุทธหัตถี ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่แน่นอน บก.ทหารสูงสุด จึงจะดำเนินการต่อไป
ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มติเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2548 กำหนดให้วันที่ 18 มกราคมของทุกปี เป็นวันยุทธหัตถีและวันรัฐพิธีแทนวันที่ 25 มกราคม ดังนั้น เพื่อให้การกำหนดวันกองทัพไทยสอดคล้องกับเหตุผลที่ยึดถืออยู่เดิม
         คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2549 เห็นชอบตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ ให้เปลี่ยนแปลงกำหนดวันกองทัพไทยจากวันที่ 25 มกราคม ของทุกปีเป็นวันที่ 18 มกราคม ของทุกปี และอนุมัติให้เป็นวันหยุดราชการของกระทรวงกลาโหม

 หลักฐานของการเริ่มให้มีการจัดตั้งกองทัพไทย

ภาพ:Nare_3.jpg

         ปรากฏหลักฐานที่ค้นพบจาก หลักศิลาจารึกในสมัยสุโขทัยว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ได้รวบรวมไทย ตั้งราชอาณาจักร และถือว่าชายไทยทุกคนต้องเป็นทหาร มีหน้าที่ป้องกันประเทศ โดยแบ่งเป็นพลเดินเท้า หน่วยเคลื่อนที่เร็ว ได้แก่ ทหารม้า และหน่วยกำลังรบโจมตี เพื่อหวังชนะเด็ดขาด ได้แก่ทหารช้าง ต่อมาในสมัย กรุงศรีอยุธยา ได้มีการแบ่งกิจการทหาร และพลเรือนแยกออกจากกัน มีการกำหนดให้ชายไทย ทุกคน ต้องเขารับราชการทหาร และแบ่งออกเป็น 4 เหล่า เรียกว่าจตุรงคเสนา ได้แก เดินเท้า ม้า รถ และช้าง ต่อมาในสมัยปัจจุบัน กองทัพไทย ได้มีการปรับปรุง และเปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านการจัด การฝึก การศึกษา การยุทธ และด้านอื่นๆอีกมาก เพื่อให้ทัดเทียมอารยประเทศ มีการจัดตั้ง กองบัญชาการทหารสูงสุด เพื่อเป็น หน่วย บังคับบัญชาของ 3 เหล่าทัพ อันได้แก่ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ

 ภารกิจและหน้าที่ของกองทัพไทย

ภาพ:Nare_4.jpg

         ภารกิจที่สำคัญของกองทัพไทย คือ การป้องกันราชอาณาจักรจากการรุกรานจากภายนอกประเทศ ที่มีการวางแผน และปรับปรุงกันเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆที่เปลี่ยนแปลงไป รวมไปถึงด้าน การพัฒนากำลังพล การพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ การรักษาความมั่นคงและความปลอดภัยภายในประเทศ และการพัฒนาประเทศ และการดำเนินการ สนองนโยบายของรัฐบาล การปฏิบัติงานตามแนวทางพระราชดำริ
         การกำหนดให้มีวันกองทัพไทยก็เพื่อ ดำรงความุ่งหมายที่จะรักษาไว้ซึ่งความหมาย อันสำคัญยิ่ง ให้ทหาร ทั้งสามเหล่าทัพ ระลึกถึงด้วยความภาคภูมิใจ เกิดความรัก ความสามัคคี หวงแหน ชาติ บ้านเมือง พร้อมที่จะเสียสละชีวิต เพื่อปกป้องรักษา ชาติ ศาสนา ผืนแผ่นดินไทย และพิทักษ์ ราชบัลลังก์ และเพื่อให้ ประชาชนทุกคนได้ระลึกถึง คุณงามความดี ของบรรพชนไทยในอดีต ที่ท่านผู้กล้าหาญเหล่านั้น ได้พลีชีพ เข้าปกป้อง ชาติไทย และประชาชนคนไทยทั้งชาติ ให้ยังความเป็น เอกราช มาได้ตราบเท่าปัจจุบันนี้

 วัตถุประสงค์ของการจัดงาน วันกองทัพไทย

         สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดงาน วันกองทัพไทยเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงวีรกรรมของ วีรกษัตริย์ไทยรวมทั้งบรรพบุรุษไทยผู้กล้าหาญทั้งหลาย ที่ได้เสียสละชีวิตเลือดเนื้อเพื่อปกป้องรักษา ผืนแผ่นดินไทยให้ดำรงความเป็นชาติที่มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี เป็นมรดกตกทอดมาจนถึงทุกวันนี้

 กิจกรรมของวันกองทัพไทย

  • จัดสัมมนาทางวิชาการเพื่อให้ความรู้ความมเข้าใจเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจ และความสำคัญของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
  • จัดนิทรรศการพระราชประวัติและผลงาน
  • ทำบุญตักบาตรเพื่ออุทิศเป็นพระราชกุศล - ประดับธงชาติสถานที่ราชการ และอาคารบ้านนเรือน
  • วางพวงมาลา
  • การแสดงเทิดพระเกียรติ


วันตรุษจีน

         ตรุษจีน เป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดของจีน เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามปฎิทินจีน เช่นเดียวกับสงกรานต์วันปีใหม่ไทย ทุกคนต่างให้ความสำคัญอย่างยิ่งมีการเฉลิมฉลองทั่วโลกโดยเฉพาะชุมชนขนาดใหญ่ของคนเชื้อสายจีน ตรุษจีนถือเป็นวันหยุดที่สำคัญมากช่วงหนึ่งของชาวจีน และยังแผ่อิทธิพลไปถึงการฉลองปีใหม่ของชนชาติที่อยู่รายรอบ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ม้ง มองโกเลีย เวียดนาม ทิเบต เนปาล และภูฐาน สำหรับชาวจีนที่อาศัยอยู่ต่างถิ่นกันก็จะมีประเพณีเฉลิมฉลองต่างกันไป

 ตรุษจีนในภาษาจีน

ภาพ:Chainese_14.jpg

         ตรุษจีน หรือ เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ (ตัวเต็ม: 春節, ตัวย่อ: 春节, พินอิน: Chūnjíe ชุนจีเหย๋) หรือ ขึ้นปีเพาะปลูกใหม่ (ตัวเต็ม: 農曆新年, ตัวย่อ: 农历新年, พินอิน: Nónglì Xīnnián หนงลี่ ซินเหนียน) และยังรู้จักกันในนาม วันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติ เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีของชาวจีนในจีนแผ่นดินใหญ่และชาวจีนโพ้นทะเลทั่วโลก เทศกาลนี้เริ่มต้นในวันที่ 1 เดือน 1 ของปีตามจันทรคติ (正月 พินอิน: zhèng yuè เจิ้งยวี่เย่) และสิ้นสุดในวันที่ 15 ซึ่งจะเป็นเทศกาลประดับโคมไฟ (ตัวเต็ม: 元宵節, ตัวย่อ: 元宵节, พินอิน: yuán xiāo jié หยวนเซียวจีเหย๋)

ภาพ:Chainese_5.jpg

         คืนก่อนวันตรุษจีน ตามภาษาจีนกลางเรียกว่า 除夕 (พินอิน: Chúxì ฉูซี่) หมายถึงการผลัดเปลี่ยนยามค่ำคืน และคืนนี้จะเป็นวันสุดท้ายของปีนั่นเอง ซึ่งเป็นคืนที่ครึกครื้นที่สุด ใครที่ไปทำงานห่างจากบ้านเกิด ต่างก็พยายามอย่างสุดความสามารถที่จะกลับมาฉลองวันปีใหม่ที่บ้าน ตอนกินอาหารมื้อค่ำคืนก่อนขึ้นปีใหม่จีน ทุกคนในครอบครัวต่างนั่งกันพร้อมหน้าล้อมโต๊ะอาหาร ต่างชนแก้วอวยพรปีใหม่กัน ทานมื้อค่ำเรียบร้อยแล้ว บางคนก็ดูทีวี บางคนก็ฟังเพลง บางคนก็นั่งคุยกัน บางคนก็เล่นหยอกล้อกับเด็กๆ บ้านเต็มไปด้วยรอยยิ้ม และเสียงหัวเราะ พอถึงเที่ยงคืน คนจีนทางเหนือก็จะเริ่มทำเกี๊ยว (เจี้ยวจึ) คนจีนทางใต้ ก็จะปั้นลูกอี๋ทำน้ำเชื่อม ทำไป ชิมไปทานไป ครึกครื้นอย่างยิ่ง เช้าวันรุ่งขึ้นแต่เช้า ทุกคนจะตื่นแต่เช้า เยี่ยมเพื่อนบ้าน เพื่อนฝูงอวยพรปีใหม่

 ประวัติวันตรุษจีน

ภาพ:Chainese_3.jpg

         ประวัติของวันขึ้นปีใหม่ของจีนมีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ในวัฒนธรรมอื่นๆ ความปรารถนาสิ่งที่เราหวังว่าจะได้ปรับปรุง หรือที่เราคิดทำเมื่อเริ่มต้นในปีใหม่ มาถึงตอนนี้ ถ้าไม่ถูกลืมก็ถูกยัดลงกล่องใส่ตู้ปิดตายและแปะหน้าตู้ว่าไม่แน่ เอาไว้ทำปีหน้าแล้วกันอย่างไรก็ดี ความหวังก็คงยังไม่สูญไปทั้งหมดเพราะโอกาสที่สองกำลังมาถึงแล้ว กับการฉลองวันปีใหม่จีนหรือที่เรารู้จักกันว่า ตรุษจีนในวันที่ 1 กุมภาพันธ์นี้ นั้นเอง
         ตรุษจีนนั้นคล้ายคลึงกับวันปีใหม่ในประเทศทางตะวันตก ร่องรอยของประเพณี และพิธีกรรมความเป็นมาของการฉลองตรุษจีน นั้นมีมานานกว่าศตวรรษ จริงๆแล้วนานมาก จนไม่สามารถย้อนกลับไปดูว่าเริ่มต้นฉลองมาตั้งแต่เมื่อไร เป็นที่รู้จักและจำได้ทั่วไปว่าเป็น การฉลองเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ และการฉลองเป็นเวลานานถึง 15 วัน การเตรียมงานฉลองส่วนใหญ่จะเริ่มหนึ่งเดือนก่อนวันตรุษจีน (คล้ายกับวัน คริสต์มาสของประเทศตะวันตก) เมื่อผู้คนเริ่มซื้อของขวัญ, สิ่งต่างๆ เพื่อประดับบ้านเรือน, อาหารและเสื้อผ้า การทำความสะอาดครั้งใหญ่ก็เริ่มขึ้นในวันก่อนตรุษจีน บ้านเรือนจะถูก ทำความสะอาดตั้งแต่บนลงล่างหน้าบ้านยันท้ายบ้าน ซึ่งหมายถึงการกวาดเอาโชคร้าย ออกไป ประตูหน้าต่างมีการขัดสีฉวีวรรณทาสีใหม่ซึ่งสีแดงเป็นสีนิยม ประตูหน้าต่างจะถูก ประดับประดาด้วยกระดาษที่มีคำอวยพรอย่างเช่น อยู่ดีมีสุข ร่ำรวย และอายุยืนเป็นต้น

ภาพ:Chainese_16.jpg

         ทั้งหมดเห็นจะได้ ประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ นั้นผูกไว้กับทุกสิ่งทุกอย่าง ตั้งแต่ อาหาร ไปจนถึงเสื้อผ้า อาหารค่ำนั้นประกอบด้วยอาหารทะเล และอาหารนึ่งเช่นขนมจีบ ซึ่งแต่ละอย่างจะมีความหมายต่างๆกัน อาหารอันโอชะอย่างเช่นกุ้งจะหมายถึงชีวิตที่รุ่งเรือง และความสุข เป๋าฮื้อแห้งหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ดี สลัดปลาสดจะนำมาซึ่งโชคดี จี้ไช่ (ผมเทวดา) สาร่ายดูคล้ายผมแต่กินได้จะนำความความร่ำรวยมาให้ และขนมต้ม (Jiaozi) หมายถึงบรรพชนอวยพร และเป็นธรรมดาเสื้อผ้าที่ใส่สีแดงถือเป็นสีที่เป็นมงคลเป็นการไล่ปีศาจร้ายให้ออกไป และการใส่สีดำหรือขาวเป็นสิ่งต้องห้าม ซึ่งสีเหล่านี้ถือว่าเป็นสีแห่งการไว้ทุกข์ หลังจากอาหารค่ำทุกคนในครอบครัวนั่งกันจนเช้าเพื่อรอวันใหม่โดยการเล่นเกม เล่นไพ่ หรือดูรายการทีวีที่เกี่ยวกับวันตรุษจีน และในวันนี้จะต้องไม่โกรธ ริษยา หรือ ไม่พอใจ เพื่อเป็นสิริมงคลที่ดีสำหรับปีที่กำลังจะมาถึง
         เมื่อถึงวันตรุษจีน ประเพณีตั้งแต่โบราณมาเรียกว่า อังเปา ซึ่งหมายถึง กระเป๋าแดง เป็นการที่คู่แต่งงานให้เงินเด็กๆ และผู้ใหญ่ที่ยังไม่ได้แต่งงานในซองสีแดง หลังจากนั้นทุกคน ในครอบครัว ต่าง ออกมาเพื่อกล่าวสวัสดีปีใหม่ เริ่มจากญาติๆ แล้วต่อด้วยเพื่อนบ้าน ซึ่งคงคล้ายกับการที่ชาวตะวันตกพูดว่า "Let bygones be bygones" (อะไรที่ผ่านไปแล้วก็ให้มันผ่านไป) ในวันตรุษนี้ อารมณ์โมโหโกรธาจะถูกลืม และไม่สนใจ การฉลองวันตรุษจีนสิ้นสุดลงในงานโคมไฟ ซึ่งฉลองโดยการร้องเพลง เต้นรำ และงานแสดงโคมไฟ ถึงแม้ว่าการฉลองวันตรุษจีน จะมีแตกต่างกันออกไปแต่สิ่งที่เหมือนกัน คือ การอวยพร ความสงบ และความสุขให้กับคนในครอบครัวและเพื่อนทุกคน

 ตำนานวันตรุษจีน

ภาพ:Chainese_13.jpg

         ตรุษจีน เป็นวันสำคัญของจีนที่มีมาแต่โบราณที่เรียกว่า “กว้อชุนเจี๋ย” หรือ “กว้อเหนียน” เล่ากันว่าในสมัยโบราณ ในป่าทึบแห่งหนึ่ง มีสัตว์ป่าที่ดุร้ายและน่ากลัวมากตัวหนึ่ง เรียกว่า “เหนียน” มันออกอาละวาดกินคนเป็นประจำ พระเจ้าจึงลงโทษมัน อนุญาตให้มันลงมาจากเขาได้เพียงหนึ่งครั้งใน 365 วัน ดังนั้น เมื่อฤดูหนาวใกล้จะผ่านไป ฤดูใบไม้ผลิเวียนมาใกล้ เหนียน ก็จะออกมาทำร้ายผู้คน เพื่อป้องกันการมาของ เหนียน ทุก ๆ ครัวเรือนจึงต่างสะสมเสบียงอาหาร และกับข้าวจำนวนหนึ่งไว้ในบ้าน เมื่อถึงตอนค่ำของวันที่ 30 เดือน 12 ก็จะปิดประตูและหน้าต่างเอาไว้ ไม่หลับไม่นอนตลอดคืน เพื่อต่อสู้กับ เหนียน จนกระทั่งถึงรุ่งเช้าก็จะเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 1 เมื่อ เหนียน กลับไปแล้ว ทุก ๆ ครัวเรือนก็จะเปิดประตูออกมาแสดงความยินดีต่อกัน ที่โชคดีไม่ได้ถูก เหนียน ทำร้าย

ภาพ:Chainese_15.jpg

         ต่อมาพบว่า เหนียน มีจุดอ่อน มีอยู่ครั้งหนึ่ง เมื่อ เหนียน มาถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง มีเด็กกลุ่มหนึ่งกำลังหวดแส้เล่นกัน เมื่อ เหนียน ได้ยินเสียงแส้ดังเปรี้ยงปร้างก็เลยตกใจเผ่นหนีไป เมื่อ เหนียน ไปถึงหมู่บ้านอีกแห่งหนึ่ง เห็นมีชุดเสื้อผ้าสีแดงตากอยู่หน้าบ้านของครอบครัวหนึ่ง สีแดงฉูดฉาดนั้น ทำให้ เหนียน ตกใจและเผ่นหนีไปอีก เมื่อ เหนียน มาถึงหมู่บ้านแห่งที่สาม ปรากฏว่าไปพบเห็นกองเพลิงกองหนึ่งบนถนน แสงเพลิงที่เจิดจ้าทำให้ เหนียน ต้องเผ่นหนีไปอีก ตั้งแต่นั้นมา ผู้คนต่างรู้ว่า แม้ว่า เหนียน จะดุร้ายแต่มันก็กลัวสีแดง เสียงดัง และไฟ ทำให้ผู้คนสามารถคิดหาวิธีกำจัด เหนียน ได้โดยไม่ยากนัก
         เมื่อวันส่งท้ายตรุษจีนเวียนมาอีกครั้งหนึ่ง ทุก ๆ ครัวเรือนจึงต่างนำกระดาษสีแดงมาติดไว้บนประตูหน้าบ้าน แขวนโคมไฟสีแดง พร้อมกับจุดประทัดและตีฆ้องรัวกลองอย่างต่อเนื่อง เมื่อ เหนียน มาถึงในตอนเย็น เห็นทุก ๆ ครัวเรือนมีแสงไฟสว่างไสว มีเสียงประทัดดังสนั่นจึงตกใจเผ่นหนีกลับเข้าป่าไป และไม่กล้าออกมาอาละวาดอีก ทุก ๆ คนจึงผ่านพ้นคืนแห่งอันตรายไปอย่างปลอดภัย เมื่อฟ้าสางแล้ว ผู้คนจึงออกมาจากบ้าน กล่าวคำอวยพรซึ่งกันและกันอย่างมีความสุข พร้อมกับการนำอาหารออกมารับประทานร่วมกันอย่างสนุกสนาน
         ต่อมา วันดังกล่าวจึงกลายมาเป็นวันเฉลิมฉลองที่มีแต่ความสุขที่เรียกกันว่า "ตรุษจีน"

การจุดประทัดและเชิดสิงโตในวันตรุษจีน

         การจุดประทัด เกิดจากในอดีตมีคนหัวใสนำดินระเบิดไปบรรจุในบ้องไม้ไผ่เล็กๆ แล้วจุด เสียงไม้ไผ่ระเบิดก็ดังสนั่นหู เด็กเล็กได้ยินก็ร้องจ้า บรรดาสุนัขและสัตว์เลี้ยงทั้งหลายต่างพากันกลัวเสียงประทัดวิ่งหนีกันได้
         ทำให้มีคนคิดว่าเสียงดังโป้งป้างของประทัด น่าจะไล่เจ้าตัวเหนียนได้ ซึ่งเหนียนคำนี้เป็นเสียงจีนกลาง จีนแต้จิ๋วออกเสียงว่า นี้ แปลว่า ปี คนจีนโบราณเชื่อว่าช่วงสิ้นปีที่อากาศหนาวเย็นจัดคนไม่สบายกันมาก เพราะเจ้าตัวเหนียนออกมาอาละวาด การจุดประทัดเสียงดังน่าจะไล่เจ้าตัวเหนียนและโรคภัยไข้เจ็บให้ตกใจกลัวหนีไปได้
         แล้วต่อมาธรรมเนียมนี้ก็ปรับไปว่า จุดประทัดให้เสียงดังๆ นี้จะเรียกโชคดีให้มาหา บ้างก็ว่า เพื่อให้สะดุดหูเทพเจ้า ท่านจะได้มาช่วยคุ้มครอง
         ส่วนการเชิดสิงโตวันตรุษจีน ที่บางท้องที่จัดเป็นพิธีแห่มังกรใหญ่โต โดยคนจีนเรียกการแสดงเชิดสิงโตว่า ไซ่จื้อบู่ แปลง่ายๆ ว่า ระบุลูกสิงโต จัดอยู่ในหมวดการแสดงสวมหน้ากากสัตว์ จากบันทึกของราชวงศ์เหนือ...ใต้ (พ.ศ. 850 – 1132) เมื่อชาวบ้านในมณฑลกวางตุ้ง มีการแสดงเชิดสิงโตเพื่อไล่ผีที่เชื่อว่า มาลงกินผู้ชายและสัตว์เลี้ยง ก่อเกิดเป็นความเชื่อว่า เชิดสิงโตช่วยไล่ภูตผีปีศาจได้ ก็เลยเข้าคู่กันเหมาะมากกับการจุดประทัดวันตรุษจีน
         ส่วนการแห่มังกร ก็เริ่มจากในสมัยราชวงศ์จิ๋นหรือฉิน (พ.ศ. 254 – 339) จัดเป็นการแสดงเล็กๆ แล้วมาจัดเป็นโชว์ใหญ่ที่สวยตระการตาในสมัยราชวงศ์ฮั่น (พ.ศ. 337 – 763) โดยเริ่มต้นจะมาจากตำนานปลาหลีฮื้อกระโดดข้ามประตูสวรรค์ก็จะกลายเป็นปลามังกรมีฤทธิ์เดช โดยปลามังกรนี้ คือสัตว์ยิ่งใหญ่มีพลังอำนาจ ใครได้พบได้ชมก็จะได้รับพลังช่วยเสริมให้เจ้าตัวโชคดีทำมาหากินได้ผลบริบูรณ์
         แต่เนื่องจากทั้งการเชิดสิงโตและแห่มังกรนี้ ผู้แสดงต้องมีความสามารถพิเศษในเชิงกายกรรมต่อตัว การสมดุลตัว ที่สุดของการเชิดสิงโตคือการได้ซองอั่งเปา สุดยอดของการแห่มังกรคือ การต่อตัวขึ้นไปเพื่อหยิบซองอั่งเปาบนไม้สูงที่เมื่อทำได้ ความหมายของการได้ซองอั่งเปานี้คือ การจะได้โชคดีกันถ้วนหน้าตลอดปีทีเดียว

ตรุษจีนในประเทศไทย

ภาพ:Chainese_9.jpg

         ชาวไทยเชื้อสายจีนจะถือประเพณีปฏิบัติอยู่ 3 วัน คือวันจ่าย วันไหว้ และวันปีใหม่

วันจ่าย หรือ ตื่อเส็ก

         คือวันก่อนวันสิ้นปี เป็นวันที่ชาวไทยเชื้อสายจีนจะต้องไปซื้ออาหารผลไม้และเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ ก่อนที่ร้านค้าทั้งหลายจะปิดร้ายหยุดพักผ่อนยาว ในตอนค่ำจะมีการจุดธูปอัญเชิญเจ้าที่ หรือ ตี่จู๋เอี๊ย ให้ลงมาจากสวรรค์เพื่อรับการสักการะบูชาของเจ้าบ้าน หลังจากที่ได้ไหว้อัญเชิญขึ้นสวรรค์เมื่อ 4 วันที่แล้ว

 วันไหว้ คือ วันสิ้นปี

ภาพ:Chainese_8.jpg

         จะมีการไหว้ 3 ครั้ง คือ
         ตอนเช้ามืดจะไหว้ ไป๊เล่าเอี๊ย เป็นการไหว้เทพเจ้าต่างๆ เครื่องไหว้คือ เนื้อสัตว์ 3 อย่าง (ซาแซ ได้แก่ หมูสามชั้นต้ม ไก่ เป็ด ปรับเปลี่ยนเป็นชนิดอื่นได้ หรือมากกว่านั้นได้จนเป็นเนื้อสัตว์ห้าชนิด) เหล้า น้ำชา และกระดาษเงินกระดาษทอง
         ตอนสาย จะไหว้ไป๊เป้บ๊อ คือการไหว้บรรพบุรุษ พอ่แม่ญาติพี่น้องที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูตามคติจีน การไหว้ครั้งนี้จะไหว้ไม่เกินเที่ยง เครื่องไหว้จะประกอบด้วย ซาแซ อาหารคาวหวาน (ส่วนมากจะทำตามที่ผู้ที่ล่วงลับเคยชอบ) รวมทั้งการเผากระดาษเงินกระดาษทอง เสื้อผ้ากระดาษเพื่ออุทิศแก่ผู้ล่วงลับ หลังจากนั้น ญาติพี่น้องจะมารวมกันรับประทานอาหารที่ได้เซ่นไหว้ไปเป็นสิริมงคล และถือเป็นเวลาที่ครอบครัวหรือวงศ์ตระกูลจะรวมตัวกันได้มากที่สุด จะแลกเปลี่ยนอั่งเปาหลังจากรับประทานอาหารร่วมกันแล้ว
         ตอนบ่าย จะไหว้ ไป๊ฮ้อเฮียตี๋ เป็นการไหว้ผีพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว เครื่องไหว้จะเป็นพวกขนมเข่ง ขนมเทียน เผือกเชื่อมน้ำตาล กระดาษเงินกระดาษทอง พร้อมทั้งมีการจุดประทับเพื่อไล่สิ่งชั่วร้ายและเป็นสิริมงคล

 วันขึ้นปีใหม่ หรือ วันเที่ยว หรือ วันถือ

         คือวันที่หนึ่งของเดือนที่หนึ่งของปี (ชิวอิก) วันนี้ ชาวจีนจะถือธรรมเนียมโบราณที่ยังปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงปัจจุบัน คือ ไป๊เจีย คือ การไปไหว้ขอพรและอวยพรจากญาติผู้ใหญ่และผู้ที่เคารพรัก โดยนำส้มสีทองไปมอบให้ เหตุที่ให้ส้มก็เพราะออกเสียงภาษาจีนแต้จิ๋วว่า "กา" ซึ่งไปพ้องกับคำว่าทอง เพราะฉะนั้นการให้ส้มจึงเหมือนนำโชคดีไปให้ จะมอบส้มจำนวน 4 ผล ห่อด้วยผ้าเช็ดหน้าของผู้ชาย เหตุที่เรียกวันนี้ว่าวันถือคือ เป็นวันที่ชาวจีนถือว่าเป็นสิริมงคล งดการทำบาป จะมีคติถือบางอย่าง เช่น ไม่พูดจาไม่ดีต่อกัน ไม่ทวงหนี้กัน ไม่จับไม้กวาด และจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่แล้วออกเยี่ยมอวยพรและพักผ่อนนอกบ้าน เป็นต้น

 การไหว้เจ้า

ภาพ:Chainese_12.jpg

         การไหว้เจ้าเป็นธรรมเนียมประเพณีที่ลูกหลานจีนปฏิบัติสืบทอดกันมา ตามความเชื่อที่จะต้องไหว้เจ้าที่ และไหว้บรรพบุรุษ เพื่อให้เป็นสิริมงคล และนำมาซึ่งความสุข ความเจริญแก่ครอบครัว ในปีหนึ่งมีการไหว้เจ้า 8 ครั้ง เรียกว่า โป๊ยโจ่ย แปลว่า 8 เทศกาล ดังนี้
  • ไหว้เดือน 1 วันที่ 1 (เป็นการกำหนดวันทางจันทรคติของจีน) คือ ตรุษจีน เรียกว่า ง่วงตั้งโจ่ย
  • ไหว้เดือน 1 วันที่ 15 เรียกว่า ง่วงเซียวโจ่ย
  • ไหว้เดือน 3 วันที่ 4 เรียกว่า ไหว้เช็งเม้ง เป็นประเพณีที่ลูกหลานไปไหว้บรรพบุรุษที่ฮวงซุ้ย
  • ไหว้เดือน 5 วันที่ 5 เรียกว่า โหงวเหว่ยโจ่ย เป็นเทศกาลไหว้ขนมจ้าง
  • ไหว้เดือน 7 วันที่ 15 คือ ไหว้สารทจีน เรียกว่า ตงง้วงโจ่ย
  • ไหว้เดือน 8 วันที่ 15 เรียกว่า ตงชิวโจ่ย ที่คนทั่วไปรู้จักกันดีว่า ไหว้พระจันทร์
  • ไหว้เดือน 11 ไม่กำหนดวันแน่นอน เรียกว่า ไหว้ตังโจ่ย
  • ไหว้เดือน 12 วันสิ้นปี เรียกว่า ไหว้สิ้นปี หรือ ก๊วยนี้โจ่ย
นอกจากนี้บางบ้านยังมีการไหว้พิเศษ คือการไหว้เทพยดาที่ตนเองเคารพนับถือ เช่น
  • ไหว้เทพยดาฟ้าดิน เช่นการไหว้วันเกิดเทพยดา ฟ้าดิน เรียกว่า ทีกงแซ หรือ ทีตี่แซ ตรงกับวันที่ 9 เดือน 1 ของจีน
  • ไหว้อาเนี๊ยแซ คือไหว้วันเกิดเจ้าแม่กวนอิม ปีหนึ่งมี 3 ครั้ง คือวันที่ 19 เดือน 2 วันที่ 19 เดือน 6 และวันที่ 19 เดือน 9
  • ไหว้แป๊ะกงแซ ตรงกับวันที่ 14 เดือน 3
  • ไหว้เทพยดาผืนดิน คือไหว้โท้วตี่ซิ้ง ตรงกับวันที่ 29 เดือน 3
  • ไหว้อาพั๊ว คือการไหว้วันเกิดอาพั๊ว หรืออาพั๊วแซ ซึ่งอาพั๊ว หมายถึง พ่อซื้อแม่ซื้อผู้คุ้มครองเด็ก ตรงกับวันที่ 7 เดือน 7 ของทุกปี
  • ไหว้เจ้าเตา คือไหว้วันที่ 24 เดือน 12 เรียกว่า ไหว้เจ๊าซิ้ง

 อาหารไหว้เจ้า

ภาพ:Chainese_17.jpg

         ในวันฉลองตรุษจีนอาหารจะถูกรับประทานมากกว่าวันไหนๆในปี อาหารชนิดต่างๆที่ปฏิบัติกันจนเป็นประเพณี จะถูกจัดเตรียมเพื่อญาติพี่น้องและเพื่อนฝูง รวมไปถึงคนรู้จักที่ได้เสียไปแล้ว ในวันตรุษครอบครัวชาวจีนจะทานผักที่เรียกว่า ไช่ ถึงแม้ผักชนิดต่างๆที่นำมาปรุง จะเป็นเพียงรากหรือผักที่มีลักษณะเป็นเส้นใยหลายคนก็เชื่อว่าผักต่างๆมีความหมายที่เป็น มงคลในตัวของมัน

ภาพ:Chainese_11.jpg

  • เม็ดบัว - มีความหมายถึง การมีลูกหลานที่เป็นชาย
  • เกาลัด - มีความหมายถึง เงิน
  • สาหร่ายดำ - คำของมันออกเสียงคล้าย ความร่ำรวย
  • เต้าหู้หมักที่ทำจากถั่วแห้ง - คำของมันออกเสียงคล้าย เต็มไปด้วยความร่ำรวย และ ความสุข
  • หน่อไม้ - คำของมันออกเสียงคล้าย คำอวยพรให้ทุกอย่างเต็มไปด้วยความสุข เต้าหู้ที่ทำจากถั่วสดนั้นจะไม่นำมารวมกับอาหารในวันนี้เนื่องจากสีขาวซึ่งเป็นสีแห่งโชคร้าย สำหรับปีใหม่และหมายถึงการไว้ทุกข์

ภาพ:Chainese_10.jpg

         อาหารอื่นๆ รวมไปถึงปลาทั้งตัว เพื่อเป็นตัวแทนแห่งการอยู่ร่วมกัน และความอุดม- สมบรูณ์ และไก่สำหรับความเจริญก้าวหน้า ซึ่งไก่นั้นจะต้องยังมีหัว หางและเท้าอยู่ เพื่อ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ เส้นหมี่ก็ไม่ควรตัดเนื่องจากหมายถึงชีวิตที่ยืนยาว
         ทางตอนใต้ของจีน จานที่นิยมที่สุดและทานมากที่สุดได้แก่ ข้าวเหนียวหวานนึ่ง บ๊ะจ่างหวาน ซึ่งถือเป็นอาหารอันโอชะ ทางเหนือ หมั่นโถ และติ่มซำ เป็นอาหารที่นิยม อาหารจำนวน มากที่ถูกตระเตรียมในเทศกาลนี้มีความหมายถึง ความอุดมสมบูรณ์และความร่ำรวยของบ้าน

 ความเชื่อโชคลางในวันตรุษจีน

ภาพ:Chainese_6.jpg

         ทุกคนจะไม่พูดคำหยาบหรือพูดคำที่ไม่เป็นมงคล ความหมายเป็นนัย และคำว่า สี่ ซึ่งออกเสียงคล้ายความตายก็จะต้องไม่พูดออกมา ต้องไม่มีการพูดถึงความตายหรือการใกล้ตาย และเรื่องผีสางเป็นเรื่องที่ต้องห้าม เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในปีเก่าๆ ก็จะไม่เอามาพูดถึง ซึ่งการพูดควรมีแต่เรื่องอนาคต และทุกอย่างที่ดีกับปีใหม่และการเริ่มต้นใหม่
         หากคุณร้องไห้ในวันปีใหม่ คุณจะมีเรื่องเสียใจไปตลอดปี ดังนั้นแม้แต่เด็กดื้อที่ปฎิบัติตัวไม่ดีผู้ใหญ่ก็จะทน และไม่ตีสั่งสอน
         การแต่งกายและความสะอาด ในวันตรุษจีนเราไม่ควรสระผมเพราะนั้นจะหมายถึงเราชะล้างความโชคดีของเราออกไป เสื้อผ้าสีแดงเป็นสีที่นิยมสวมใส่ในช่วงเทศกาลนี้ สีแดงถือเป็นสีสว่าง สีแห่งความสุข ซึ่งจะนำความสว่างและเจิดจ้ามาให้แก่ผู้สวมใส่ เชื่อกันว่าอารมณ์และการปฏิบัติตนในวันปีใหม่ จะส่งให้มีผลดีหรือผลร้ายได้ตลอดทั้งปี เด็ก ๆ และคนโสด เพื่อรวมไปถึงญาติใกล้ชิดจะได้ อังเปา ซึ่งเป็นซองสีแดงใส่ด้วย ธนบัตรใหม่เพื่อโชคดี
         วันตรุษจีนกับความเชื่ออื่น ๆ สำหรับคนที่เชื่อโชคลางมากๆ ก่อนออกจากบ้านเพื่อไปเยี่ยมเยียนเพื่อนหรือญาติ อาจมีการเชิญซินแส เพื่อหาฤกษ์ที่เหมาะสมในการออกจากบ้านและทางที่จะไปเพื่อ เป็นความเป็นสิริมงคล
         บุคคลแรกที่พบและคำพูดที่ได้ยินคำแรกของปีมีความหมายสำคัญมาก ถือว่าจะส่งให้มีผลได้ตลอดทั้งปี การได้ยินนกร้องเพลงหรือเห็นนกสีแดงหรือนกนางแอ่น ถือเป็นโชคดี
         การเข้าไปหาใครในห้องนอนในวันตรุษ ถือเป็นโชคร้ายดังนั้นไม่ว่าจะเป็นคนป่วยก็ต้องแต่งตัวออกมานั่งในห้องรับแขก
         ไม่ควรใช้มีดหรือกรรไกรในวันตรุษเพราะเชื่อว่าจะเป็นการตัดโชคดี ทุกวันนี้ไม่ใช่ว่าชาวจีนทุกคนจะคงยังเชื่อตามความเชื่อที่มีมาแต่ทุกคนก็ยังคงยึดถือ และปฎิบัติตาม เพราะสิ่งเหล่านี้เปรียบเสมือนธรรมเนียม และวัฒนธรรม โดยที่ชาวจีน ตระหนักดีว่าการปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมมาแต่เก่าก่อนเป็นการแสดงถึงความเป็น ครอบครัวและเอกลักษณ์ ของตน

 15 วันแห่งการฉลองตรุษจีน

ภาพ:Chainese_4.jpg

  • วันแรกของปีใหม่ เป็นการต้อนรับเทวดาแห่งสวรรค์และโลก หลายคนงดทานเนื้อ ในวันนี้ด้วยความเชื่อที่ว่าจะเป็นการต่ออายุและนำมาซึ่งความสุขในชีวิตให้กับตน
  • วันที่สอง ชาวจีนจะไหว้บรรพชนและเทวดาทั้งหลาย และจะดีเป็นพิเศษกับสุนัข เลี้ยงดูให้ข้าวอาบ น้ำให้แก่มัน ด้วยเชื่อว่า วันที่สองนี้เป็นวันที่สุนัขเกิด
  • วันที่สามและสี่ เป็นวันของบุตรเขยที่จะต้องทำความเคารพแก่พ่อตาแม่ยายของตน
  • วันที่ห้า เรียกว่า พูวู ซึ่งวันนี้ทุกคนจะอยู่กับบ้านเพื่อต้อนรับการมาเยือน ของเทพเจ้าแห่งความร่ำรวย ในวันนี้จะไม่มีใครไปเยี่ยมใครเพราะจะถือว่าเป็นการนำโชคร้าย มาแก่ทั้งสองฝ่าย
  • วันที่หก ถึงสิบชาวจีนจะเดินทางไปเยี่ยมเยียนญาติพี่น้องเพื่อนฝูงของ ครอบครัว และไปวัดไปวาสวดมนต์เพื่อความร่ำรวยและความสุข
  • วันที่เจ็ด ของตุรุษจีนเป็นวันที่ชาวนานำเอาผลผลิตของตนออกมาชาวนาเหล่านี้จะทำน้ำที่ทำมาจากผักเจ็ดชนิดเพื่อฉลองวันนี้ วันที่เจ็ดถือเป็นวันเกิด ของมนุษย์ในวันนี้อาหารจะเป็น หมี่ซั่วกินเพื่อชีวิตที่ยาวนานและปลาดิบเพื่อความสำเร็จ
  • วันที่แปด ชาวฟูเจียน จะมีการทานอาหารร่วมกันกับครอบครอบอีกครั้ง และเมื่อถึงเวลาเที่ยงคืนทุกคนจะสวดมนต์ของพรจาก เทียนกง เทพแห่งสวรรค์
  • วันที่เก้า จะสวดมนต์ไหว้และถวายอาหารแก่ เง็กเซียนฮ่องเต้
  • วันที่สิบถึงวันที่สิบสอง เป็นวันของเพื่อนและญาติๆ ซึ่งควรเชื้อเชิญมาทานอาหารเย็น และหลังจากที่ทานอาหารที่อุดมไปด้วยความมัน วันที่สิบสามถือเป็นวันที่เราควรทานข้าวธรรมดากับผักดองกิมกิ ถือเป็นการชำระล้างร่างกาย
  • วันที่สิบสี่ ความเป็นวันที่เตรียมงานฉลองโคมไฟซึ่งจะมีขึ้น ในคืนของวันที่สิบห้าแห่งการฉลองตรุษจีน

สิ่งที่ไม่ควรทำวันตรุษจีน

ภาพ:Chainese_2.jpg

  • ห้ามทำความสะอาด เนื่องจากการทำงานบ้าน เช่น การซักล้าง หรือ การกวาดบ้านปัดฝุ่น จะเป็นการขับไล่ความโชคดีออกไป ดังนั้นการทำความสะอาดบ้านจึงควรเริ่มทำตั้งแต่ก่อนที่วันขึ้นปีใหม่จะมาถึง
  • ห้ามสระผม ไม่ควรสระผมในวันเริ่มต้นและวันสุดท้ายของวันขึ้นปีใหม่ เนื่องจากการสระผมถือเป็นการชะล้างความโชคดีที่มาถึงในวันขึ้นปีใหม่
  • ห้ามใช้ของมีคม ไม่ควรใช้ของมีคมในวันขึ้นปีใหม่ ของมีคมต่างๆ เช่น มีด , กรรไกร , ที่ตัดเล็บ เนื่องจากถือว่าการกระทำของของมีคมนี้จะเป็นการตัดสิ่งหรืออนาคตที่ดี ที่จะนำมา ในวันขึ้นปีใหม่
  • ห้ามโต้เถียง ควรระมัดระวังในการใช้คำพูดที่มีความหมายไปในทางลบรวมทั้งหลีกเลี่ยงการโต้เถียงกัน คำที่เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยหรือความตายเป็นคำที่เราควรหลีกเลี่ยงในวันขึ้นปีใหม่
  • เลี่ยงเรื่องเกี่ยวกับความตาย หลีกเลี่ยงการเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวกับงานศพ และการฆ่าสัตว์ปีก
  • ห้ามซุ่มซ่าม ควรระมัดระวังในการทำสิ่งใดๆ ไม่ควรที่จะให้เกิดการสะดุด หรือ ทำสิ่งของตกแตก ซึ่งนั่นจะหมายถึงการนำความโชคไม่

วันเด็กแห่งชาติ

ความหมายของเด็ก
ภาพ:ChildrendDay_4.jpg
         ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของคำว่า "เด็ก" ไว้ คือ "เด็ก" หมายถึง คนที่มีอายุยังน้อย ยังเล็ก อ่อนวัน เช่น เด็กชาย คือ คำนำเรียกเด็กผู้ชายที่มีอายุไม่เกิน 14 ปีบริบูรณ์ และ เด็กหญิง คือ คำนำเรียกเด็กผู้หญิงที่มีอายุไม่เกิน 14 ปี บริบูรณ์

 ประวัติความเป็นมาของวันเด็กแห่งชาติ

ภาพ:ChildrendDay_3.jpg

          วันเด็กแห่งชาติ ตรงกับวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมของทุกปี เป็นวันหยุดราชการที่มิได้ชดเชยในวันทำงานถัดไป (วันจันทร์) มีการให้คำขวัญวันเด็กทุกปีโดยนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น
          งานวันเด็กแห่งชาติจัดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม พ.ศ. 2498 ตามคำเชิญชวนของ นายวี.เอ็ม. กุลกานี ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ เพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญและความต้องการของเด็ก และเพื่อกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ
          รัฐบาลได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้นมาคณะหนึ่ง ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน กำหนดให้มีการฉลองวันเด็กแห่งชาติทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จุดประสงค์เพื่อให้เด็กทั่วประเทศทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน ได้รู้ถึงความสำคัญของตน เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย ที่มีต่อตนเองและสังคม มีความยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
          งานวันเด็กแห่งชาติจัดขึ้นทุกปีในวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมจนถึง พ.ศ. 2506 และใน พ.ศ. 2507 ไม่สามารถจัดงานวันเด็กได้ทัน จึงได้เริ่มจัดอีกครั้งในปี พ.ศ. 2508 โดยเปลี่ยนเป็นวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม เนื่องจากเห็นว่าเป็นช่วงหมดฤดูฝนและเป็นวันหยุดราชการ จนถึงทุกวันนี้

 กิจกรรมวันเด็ก

ภาพ:ChildrendDay_2.jpg

          กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเด็กแห่งชาติ
          - ให้เด็กได้ตระหนักถึงคุณค่าบทบาท และความสำคัญของตนเอง
          - เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น ในโรงเรียน หมู่บ้าน หรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
          เด็ก คือ ทรัพยากรที่สำคัญยิ่งของประเทศชาติ ซึ่งจะเป็นกำลังที่สำคัญในการพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า และมั่นคงอีกทั้งเป็นผู้ที่จะต้องเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า เพื่อทำหน้าที่ดูแลสังคมตลอดจนเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ความเปลี่ยนแปลง และอื่น ๆ ฯลฯ
          ดังนั้น ทุกสังคมจึงให้ความสำคัญแก่เด็ก และจัดให้มีวันเด็กขึ้นทุกปี เพื่อให้เด็กรู้ถึงความสำคัญของตนเอง จะได้ประพฤติปฏิบัติตนให้สมกับเป็นผู้ที่มีความสำคัญของประเทศชาติ ด้วยการตั้งใจใฝ่ศึกษาเรียนรู้ ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบวินัย รู้จักการใช้เวลา ความคิด มีความขยันหมั่นเพียร มีความรับผิดชอบ และซื่อสัตย์สุจริต ฯลฯ

 เพลงสำหรับเด็ก

ภาพ:ChildrendDay_1.jpg

[แก้ไข] เพลงเด็กเอ๋ยเด็กดี

          เพลง หน้าที่ของเด็ก หรือเรียกกันติดปากว่าเพลง เด็กเอ๋ยเด็กดี เป็นเพลงที่มีเนื้อหาเตือนใจเด็กและเยาวชน เพื่อให้ระลึกถึงสิ่งที่ตนควรทำ ประพันธ์เนื้อร้องโดย ชอุ่ม ปัญจพรรค์ และทำนองโดย เอื้อ สุนทรสนาน เพลงนี้มักเปิดในช่วงวันเด็กแห่งชาติ
          เนื้อเพลงเด็กเอ๋ยเด็กดี
          เด็กเอ๋ยเด็กดี
          ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน
          เด็กเอ๋ยเด็กดี
          ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน
          หนึ่ง นับถือศาสนา
          สอง รักษาธรรมเนียมมั่น
          สาม เชื่อพ่อแม่ครูอาจารย์
          สี่ วาจานั้นต้องสุภาพอ่อนหวาน
          ห้า ยึดมั่นกตัญญู
          หก เป็นผู้รู้รักการงาน
          เจ็ด ต้องศึกษาให้เชี่ยวชาญ
          ต้องมานะบากบั่น ไม่เกียจไม่คร้าน
          แปด รู้จักออมประหยัด
          เก้า ต้องซื่อสัตย์ตลอดกาล
          น้ำใจนักกีฬากล้าหาญ
          ให้เหมาะกับกาลสมัยชาติพัฒนา
          สิบ ทำตนให้เป็นประโยชน์
          รู้บาปบุญคุณโทษ สมบัติชาติต้องรักษา
          เด็กสมัยชาติพัฒนา
          จะเป็นเด็กที่พาชาติไทยเจริญ

 คำขวัญวันเด็กแห่งชาติ จากนายกรัฐมนตรี

        ในปี พ.ศ. 2502 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เห็นคุณค่าความสำคัญ ของเด็ก จึงมอบคำขวัญให้เป็นข้อคิด สำหรับเด็ก นายกรัฐมนตรีในสมัยต่อๆ มา จึงได้ถือปฎิบัติสืบต่อมาดังต่อไปนี้
  • พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า
  • พ.ศ. 2503 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความสะอาด
  • พ.ศ. 2504 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย
  • พ.ศ. 2505 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่ประหยัด
  • พ.ศ. 2506 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียรมากที่สุด
  • พ.ศ. 2507 งดการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2508 จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กจะเจริญต้องรักเรียนเพียรทำดี
  • พ.ศ. 2509 จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กที่ดีต้องมีสัมมาคารวะ มานะ บากบั่น และสมานสามัคคี
  • พ.ศ. 2510 จอมพล ถนอม กิตติขจร - อนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรงดีมีความประพฤติเรียบร้อย
  • พ.ศ. 2511 จอมพล ถนอม กิตติขจร - ความเจริญและความมั่นคงของชาติไทยในอนาคต ขึ้นอยู่กับเด็กที่มีวินัย เฉลียวฉลาดและรักชาติยิ่ง
  • พ.ศ. 2512 จอมพล ถนอม กิตติขจร - รู้เรียน รู้เล่น รู้สามัคคี เป็นความดีที่เด็กพึงจำ
  • พ.ศ. 2513 จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กประพฤติดีและศึกษาดี ทำให้มีอนาคตแจ่มใส
  • พ.ศ. 2514 จอมพล ถนอม กิตติขจร - ยามเด็กจงหมั่นเรียน เพียรกระทำดี เติบใหญ่จะได้มีความสุขความเจริญ
  • พ.ศ. 2515 จอมพล ถนอม กิตติขจร - เยาวชนฝึกตนดี มีความสามารถ
  • พ.ศ. 2516 จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ
  • พ.ศ. 2517 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ - สามัคคีคือพลัง
  • พ.ศ. 2518 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ - เด็กดีคือทายาทของชาติไทย ต้องร่วมใจร่วมพลังสร้างความสามัคคี
  • พ.ศ. 2519 หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช - เด็กที่ต้องการเห็นอนาคตของชาติรุ่งเรือง จะต้องทำตัวให้ดี มีวินัย เสียแต่บัดนี้
  • พ.ศ. 2520 นายธานินทร์ กรัยวิเชียร - รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเยาวชนไทย
  • พ.ศ. 2521 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ - เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ
  • พ.ศ. 2522 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ - เด็กไทยคือหัวใจของชาติ
  • พ.ศ. 2523 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ - อดทน ขยัน ประหยัด เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย
  • พ.ศ. 2524 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - เด็กไทยมีวินัย ใจสัตย์ซื่อ รู้ประหยัด เคร่งครัดคุณธรรม
  • พ.ศ. 2525 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - ขยันศึกษา ใฝ่หาความรู้ เชิดชูชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย
  • พ.ศ. 2526 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - รู้หน้าที่ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัยและคุณธรรม
  • พ.ศ. 2527 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - รักวัฒนธรรมไทย ใฝ่ดีมีความคิด สุจริตใจมั่น หมั่นศึกษา
  • พ.ศ. 2528 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - สามัคคี นิยมไทย มีวินัย ใฝ่คุณธรรม
  • พ.ศ. 2529 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
  • พ.ศ. 2530 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
  • พ.ศ. 2531 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
  • พ.ศ. 2532 พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ - รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
  • พ.ศ. 2533 พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ - รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
  • พ.ศ. 2534 พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ - รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำชาติพัฒนา
  • พ.ศ. 2535 นายอานันท์ ปันยารชุน - สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม
  • พ.ศ. 2536 นายชวน หลีกภัย - ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
  • พ.ศ. 2537 นายชวน หลีกภัย - ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
  • พ.ศ. 2538 นายชวน หลีกภัย - สืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
  • พ.ศ. 2539 นายบรรหาร ศิลปอาชา - มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด
  • พ.ศ. 2540 พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ - รู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ตั้งใจใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด
  • พ.ศ. 2541 นายชวน หลีกภัย - ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย
  • พ.ศ. 2542 นายชวน หลีกภัย - ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย
  • พ.ศ. 2543 นายชวน หลีกภัย - มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
  • พ.ศ. 2544 นายชวน หลีกภัย - มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
  • พ.ศ. 2545 พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส
  • พ.ศ. 2546 พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี
  • พ.ศ. 2547 พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - รักชาติ รักพ่อแม่ รักเรียน รักสิ่งดีๆ อนาคตดีแน่นอน
  • พ.ศ. 2548 พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - เด็กรุ่นใหม่ ต้องขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด
  • พ.ศ. 2549 พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด
  • พ.ศ. 2550 พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ - มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข
  • พ.ศ. 2551 พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ - สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม

วันครูแห่งชาติ

ความหมายของครู
ภาพ:Teacher_1.jpg

         ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ

 ความสำคัญของครู

         ในชีวิตของคนเราถือว่า บิดามารดา เป็นผู้มีพระคุณอันสูงสุด เพราะท่านเป็นผู้ให้ชีวิต ให้ความรัก ให้ความเมตตา มีความห่วงใย และเสียสละเพื่อลูก นอกจาก บิดามารดา แล้ว ก็มีครูเป็นผู้มีพระคุณคล้าย บิดามารดา คือ เป็นผู้อบรมสั่งสอนถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ รวมทั้งให้ความรัก ความเมตตาต่อศิษย์ทุกคน นับได้ว่าครูเป็นผู้เสียสละที่ไม่แพ้บุพการี
         ครูจึงนับเป็นปูชนียบุคคลที่มีความสำคัญอย่างมาก ในการให้การศึกษาเรียนรู้ ทั้งในด้านวิชาการ และประสบการณ์ ตลอดเป็นผู้มีความเสียสละ ดูแลเอาใจใส่ สั่งสอนอบรมให้เด็กได้พบกับแสงสว่างแห่งปัญญา อันเป็นหนทางแห่งการประกอบ าชีพเลี้ยงดูตนเอง รวมทั้งนำพาสังคมประเทศชาติ ก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ฉะนั้นวันที่ 6 ตุลาคม จึงได้เป็นวันครูสากล เพื่อคนที่เป็นครูทั่วโลกที่เสียสละนำพาเราทุก ๆคน ไปถึงฝั่งฝันนั่นเอง

 ความเป็นมา

ภาพ:Teacher_3.jpg

         วันครู ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ.2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภา เป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกัน ก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครู และครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้ และความสามัคคีของครู
         ทุกปีคุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา เป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา
         พ.ศ.2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป.พิบูล สงคราม นายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า
         “ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมีสักวันหนนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพสักการะต่อวันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง”
         จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ให้มีวันครูเพี่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพจารย์ ส่งเสริมความสามัคคีธรรมระหว่างครูและพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน
         คณะมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2499 ให้วันที่ 16 มกราคมของทุกปีเป็น “วันครู” โดยถือเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2488 เป็นวันครู และให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าว
         งานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2500 ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญ คือ หนังประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ

 บทสวดเคารพครู

ภาพ:Teacher_4.jpg

         (สวดนำ) ปาเจราจริยาโหนฺติ          (รับพร้อมกัน) คุณุตฺตรานุสาสกา
         ปญฺญาวุฑฺฒิกเร เต เต          ทินฺโนวาเท นมามิหํ
(สวดทำนองสรภัญญะ)
         (สวดนำ) อนึ่งข้าคำนับน้อม          (รับพร้อมกัน) ต่อพระครูผู้การุณย์
         โอบเอื้อและเจือจุน          อนุศาสน์ทุกสิ่งสรรพ์
         ยัง บ ทราบก็ได้ทราบ ทั้งบุญบาปทุกสิ่งอัน
         ชี้แจงและแบ่งปัน          ขยายอรรถให้ชัดเจน
         จิตมากด้วยเมตตา          และกรุณา บ เอียงเอน
         เหมือนท่านมาแกล้งเกณฑ์          ให้ฉลาดและแหลมคม
         ขจัดเขลาบรรเทาโม          หะจิตมืดที่งุนงม
         กังขา ณ อารมณ์          ก็สว่างกระจ่างใจ
         คุณส่วนนี้ควรนับ          ถือว่าเลิศ ณ แดนไตร
         ควรนึกและตรึกใน          จิตน้อมนิยมชม
         (กราบ)

 การจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมในวันครู

ภาพ:Teacher_5.jpg

         เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในบทบาท และหน้าที่ของครู ตลอดจนจรรยามารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีครู และบทบาทหน้าที่ของศิษย์ที่พึงปฏิบัติต่อครู คลอดจนการจัดกิจรรมได้เหมาะสม และมีประสิทธภาพ

 กิจกรรมวันครู

         การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลาในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครูจะมีกิจกรรม 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
         1. กิจกรรมทางศาสนา
         2. พิธีรำลึกพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตนการกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
         3. กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬา หรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น
         ปัจจุบันการจัดงานวันครู ได้มีการกำหนดให้จัดพร้อมกันทั่วประเทศ สำหรับส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการจัดงานวันครู ซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ประกอบด้วย บุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัด สำหรับส่วนภูมิภาคมอบให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกับ ส่วนกลางจะจัดรวมกันที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอ
         รูปแบบการจัดงานในส่วนกลาง (หอประชุมคุรุสภา) พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการอำนวยคุรุสภา คณะกรรมการการจัดงานวันครูพร้อมด้วยครูอาจารย์และประชาชนร่วมกันใส่บาตรพระสงฆ์จำนวน 1,000 รูป หลังจากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธีในหอประชุมคุรุสภา นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรีบูชาพระรัตนตรัย ประธานสงฆ์ให้ศีล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรีกล่าวนำพิธีสวดคำฉันท์รำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
         จากนั้นประธานจัดงานวันครู จะเชิญผู้ร่วมประชุมยืนสงบ 1 นาที เพื่อรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ที่ล่วงลับไปแล้ว ต่อด้วยครูอาวุโสในประจำการ ผู้นำร่วมประชุมกล่าวปฏิญาณ ดังนี้
         ข้อ 1 ข้าจะบำเพ็ญตน ให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู
         ข้อ 2 ข้าจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ
         ข้อ 3 ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครู และบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม
         จากนั้นพระสงฆ์เจริญชัยมงคล แล้วต่อด้วยนายกรัฐมนตรี มอบรางวัลครูดีเด่นประจำปี มอบของที่ระลึกให้ครูอาวุโสนอก และในประจำการ สุดท้ายกล่าวปราศรัยกับคณะครูที่มาประชุม

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วันพ่อแห่งชาติ






















ความสำคัญ
       พ่อ  ความหมายตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูกหรือ คำที่ลูกเรียกชายที่ให้กำเนิดหรือเลี้ยงดูตนดังนั้น พ่อจึงเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อลูก ครอบครัวและสังคม จึงสมควรที่จะยกย่องให้เกียรติ รำลึกถึงพระคุณของผู้เป็นพ่อ รวมถึงต้องแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้เป็นพ่อ อีกทั้งเพื่อให้ผู้เป็นพ่อได้สำนึกในหน้าที่ และความรับผิดชอบของตน ที่พึงมีต่อครอบครัว สังคม และประเทศชาติ จึงได้กำหนดให้วันที่ ๕ ธันวาคม เป็นวันพ่อแห่งชาติเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะพ่อของปวงชนชาวไทย

วันพ่อ ได้จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษา เป็นผู้ริเริ่ม
วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันพ่อแห่งชาติ
1.  เพื่อเทิดทูนและเผยแพร่พระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในฐานะพ่อของแผ่นดิน ผู้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อปวงชนชาวไทย2.  เพื่อให้ผู้เป็นลูกได้สำนึกถึงพระคุณของพ่อ และตระหนังถึงหน้าที่ของลูกที่พึงมีต่อพ่อ ได้แก่ การแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อ ดูแลเอาใจใส่ในสุขภาพทั้งทางกายและใจ นอกจากนี้ต้องดูแลให้พ่อได้รับความสุขกายสบายใจอยู่ตลอดเวลา3.  เพื่อให้ผู้ที่เป็นพ่อได้ตระหนักถึงหน้าที่ของตนที่พึงมีต่อบุตร ธิดา และครอบครัว4.  เพื่อเผยแพร่พระคุณ และบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัว สังคม และประเทศชาติ5.  เพื่อให้สังคมได้ตระหนักถึง บทบาท และพระคุณของพ่อที่มีต่อครอบครัว สังคม และประเทศชาติ6.  เพื่อประกาศเกียรติคุณให้กับพ่อ และลูกที่ปฏิบัติหน้าที่ของตนได้เป็นอย่างดี สมควรแก่การชื่นชมยกย่องของสังคมโดยทั่วไป7.  เพื่อรักษาประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของชาติไทยให้คงอยู่ต่อไป ทั้งนี้ประเพณีที่ดีงามของคนไทยนั้นผู้ที่เป็นลูก สมควรที่จะแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ที่เป็นพ่ออย่างยิ่ง8.  เพื่อยกย่องพ่อดีเด่น และลูกที่มีความกตัญญูต่อพ่อ
กิจกรรมที่ร่วมปฏิบัติในวันพ่อแห่งชาติ
1.    พิธีสดุดีพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ณ สถานที่ที่ทางราชการกำหนดขึ้น เช่น ลานพระราชวังสวนดุสิต (ลานพระบรมรูปทรงม้า) สนามหลวง
2.    พิธีถวายชัยมงคลจากศาสนาต่าง ๆ ได้แก่ ศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม พราหมณ์ และซิกข์
3.    จัดนิทรรศการเพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทางสื่อต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์
4.    มอบรางวัลให้กับพ่อดีเด่น
พ่อตัวอย่าง
1.   มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป
2.    ส่งเสริมการศึกษาแก่บุตร และธิดา
3.    นับถือศาสนาโดยเคร่งครัด
4.    งดเว้นอบายมุขทุกชนิด
5.    อุทิศตนเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชนและมีภรรยาเพียงคนเดียว
6.    จัดการประกวดเพื่อเทิดพระคุณของพ่อ เช่น ประกวดเพลงกล่อมลูก คำขวัญเกี่ยวกับพ่อร้องเพลงเทิดพระคุณพ่อ
หน้าที่ของบิดา มารดาพึงมีต่อบุตร
1.    ห้ามมิให้ทำความชั่ว - ป้องกัน, ห้ามปราม มิให้ประพฤติเสียหาย
2.    ให้ตั้งอยู่ในความดี - ปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรม วัฒนธรรมประเพณี และกฎหมายบ้านเมือง
3.    ให้ศึกษาศิลปวิทยา - ส่งเสริมให้ได้รับการศึกษาทั้งคดีโลก และคดีธรรม
4.    หาคู่ครองที่สมควรให้ - เลือกคู่ครองที่คู่ควร, เหมาะสมให้ในเวลาอันเหมาะสม
5.    มอบทรัพย์สมบัติให้ดูแลเมื่อถึงเวลาอันสมควร - มอบภาระหน้าที่การงานให้บริหาร และมอบมรดกให้ครอบครอง
หน้าที่ของบุตรพึงมีต่อบิดามารดา
1.    เลี้ยงดูบิดามารดาเป็นการตอบแทน - เลี้ยงดูพ่อแม่ยามแก่เฒ่าอย่าปล่อยให้ท่านอดรันทดใจในวัยชรา
2.    ช่วยทำกิจการงานของท่าน - ไม่นิ่งดูดายเป็นคนไร้น้ำใจเข้าไปช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่
3.    ดำรงวงศ์ตระกูล - ไม่ทำตระกูลให้เสื่อมและเสียหาย
4.    ประพฤติตนให้สมควรได้รับทรัพย์มรดก - ประพฤติตนให้ท่านไว้ใจและวางใจ ที่จะครอบครองสมบัติ
5.    ท่านเจ็บป่วยต้องรักษา ท่านมรณาต้องทำศพให้ - ทำความปรารถนาของพ่อแม่มิให้พัง




วันลอยกระทง

ลอยกระทง
ลอยกระทง


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม 


          ใกล้ถึงเทศกาลวันลอยกระทง 2554 กันแล้ว ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 10 พฤศจิกายน …เชื่อว่าหลายคนคงเตรียมตัวควงหวานใจ หรือพาครอบครัวไปลอยกระทงร่วมกันที่ใดที่หนึ่งแล้ว อ๊ะ ๆ ...แต่ก่อนที่จะไปลอยกระทงกันนั้น เรามาทำความรู้จักประเพณีลอยกระทงให้ถ่องแท้กันก่อนดีกว่าค่ะ จะได้เข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของประเพณีอย่างแท้จริง
กำหนดวันลอยกระทง

          วันลอยกระทงของทุกปีจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย หรือถ้าเป็นปฏิทินจันทรคติล้านนาจะตรงกับเดือนยี่ และหากเป็นปฏิทินสุริยคติจะราวเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเดือน 12 นี้เป็นช่วงต้นฤดูหนาว อากาศจึงเย็นสบาย และอยู่ในช่วงฤดูน้ำหลาก มีน้ำขี้นเต็มฝั่ง ทำให้เห็นสายน้ำอย่างชัดเจน อีกทั้งวันขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวง ทำให้สามารถเห็นแม่น้ำที่มีแสงจันทร์ส่องกระทบลงมา เป็นภาพที่ดูงดงามเหมาะแก่การชมเป็นอย่างยิ่ง

ประวัติความเป็นมาของวันลอยกระทง

ลอยกระทง

          ประเพณีลอยกระทงนั้น ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัดว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่เชื่อว่าประเพณีนี้ได้สืบต่อกันมายาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง เรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า "พิธีจองเปรียญ" หรือ "การลอยพระประทีป" และมีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟว่าเป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย ทำให้เชื่อกันว่างานดังกล่าวน่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอน

          ในสมัยก่อนนั้นพิธีลอยกระทงจะเป็นการลอยโคม โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสันนิษฐานว่า พิธีลอยกระทงเป็นพิธีของพราหมณ์ จัดขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้า 3 องค์ คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาได้นำพระพุทธศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้อง จึงให้มีการชักโคม เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระบาทของพระพุทธเจ้า
          ก่อนที่นางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกของพระร่วงจะคิดค้นประดิษฐ์กระทงดอกบัวขึ้นเป็นคนแรกแทนการลอยโคม ดังปรากฎในหนังสือนางนพมาศที่ว่า

          "ครั้นวันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่าง ๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้ป็นลวดลาย..."

          เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯ ทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงโปรดให้ถือเป็นเยี่ยงอย่าง และให้จัดประเพณีลอยกระทงขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยให้ใช้กระทงดอกบัวแทนโคมลอย ดังพระราชดำรัสที่ว่า "ตั้งแต่นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานทีตราบเท่ากัลปาวสาน" พิธีลอยกระทงจึงเปลี่ยนรูปแบบตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

          ประเพณีลอยกระทงสืบต่อกันเรื่อยมา จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3 พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนขุนนางนิยมประดิษฐ์กระทงใหญ่เพื่อประกวดประชันกัน ซึ่งต้องใช้แรงคนและเงินจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลือง จึงโปรดให้ยกเลิกการประดิษฐ์กระทงใหญ่แข่งขัน และโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ทำเรือลอยประทีปถวายองค์ละลำแทนกระทงใหญ่ และเรียกชื่อว่า "เรือลอยประทีป" ต่อมาในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ได้ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีนี้ขึ้นมาอีกครั้ง ปัจจุบันการลอยพระประทีปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกระทำเป็นการส่วนพระองค์ตามพระราชอัธยาศัย

เหตุผลและความเชื่อของการลอยกระทง
          สาเหตุที่มีประเพณีลอยกระทงขึ้นนั้น เกิดจากความเชื่อหลาย ๆ ประการของแต่ละท้องที่ ได้แก่ 

          1.เพื่อแสดงความสำนึกถึงบุญคุณของแม่น้ำที่ให้เราได้อาศัยน้ำกิน น้ำใช้ ตลอดจนเป็นการขอขมาต่อพระแม่คงคา ที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ลงไปในน้ำ อันเป็นสาเหตุให้แหล่งน้ำไม่สะอาด

          2.เพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทนัมมทานที เมื่อคราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ และได้ทรงประทับรอยพระบาทไว้บนหาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่าแม่น้ำเนรพุทท

          3.เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ เพราะการลอยกระทงเปรียบเหมือนการลอยความทุกข์ ความโศกเศร้า โรคภัยไข้เจ็บ และสิ่งไม่ดีต่าง ๆ ให้ลอยตามแม่น้ำไปกับกระทง คล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์

          4.เพื่อเป็นการบูชาพระอุปคุต ที่ชาวไทยภาคเหนือให้ความเคารพ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล โดยมีตำนานเล่าว่าพระอุปคุตเป็นพระมหาเถระรูปหนึ่งที่มีอิทธิฤทธิ์มาก สามารถปราบพญามารได้ 

          5.เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมของไทยไว้มิให้สูญหายไปตามกาลเวลา และยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

          6.เพื่อความบันเทิงเริงใจ เนื่องจากการลอยกระทงเป็นการนัดพบปะสังสรรค์กันในหมู่ผู้ไปร่วมงาน

          7.เพื่อส่งเสริมงานฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ เพราะเมื่อมีเทศกาลลอยกระทง มักจะมีการประกวดกระทงแข่งกัน ทำให้ผู้เข้าร่วมได้เกิดความคิดแปลกใหม่ และยังรักษาภูมิปัญหาพื้นบ้านไว้อีกด้วย

ประเพณีลอยกระทงในแต่ละภาค

          ลักษณะการจัดงานลอยกระทงของแต่ละจังหวัด และแต่ละภาคจะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันคือ


ลอยกระทง


           ภาคเหนือ (ตอนบน) จะเรียกประเพณีลอยกระทงว่า "ยี่เป็ง" อันหมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่  (เดือนยี่ถ้านับตามล้านนาจะตรงกับเดือนสิบสองในแบบไทย) โดยชาวเหนือจะนิยมประดิษฐ์โคมลอย หรือที่เรียกว่า "ว่าวฮม" หรือ "ว่าวควัน" โดยการใช้ผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ ให้โคมลอยขึ้นไปในอากาศ เพื่อเป็นการบูชาพระอุปคุตต์ ซึ่งเชื่อกันว่าท่านบำเพ็ญบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึก หรือสะดือทะเล ตรงกับคติของชาวพม่า


ลอยกระทง

           จังหวัดตาก จะประดิษฐ์กระทงขนาดเล็ก แล้วปล่อยลอยไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้เรียงรายเป็นสาย เรียกว่า "กระทงสาย"

 
ลอยกระทง



           จังหวัดสุโขทัย เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีชื่อเสียงในเรื่องประเพณีลอยกระทง ด้วยความเป็นจังหวัดต้นกำเนิดของประเพณีนี้ โดยการจัดงาน ลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ ที่จังหวัดสุโขทัยถูกฟื้นฟูกลับมาอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ.2520 ซึ่งจำลองบรรยากาศงานมาจากงานลอยกระทงสมัยกรุงสุโขทัย และหลังจากนั้นก็มีการจัดงานลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟขึ้นที่จังหวัดสุโขทัยทุก ๆ ปี มีทั้งการจัดขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การเล่นพลุตะไล และไฟพะเนียง

ลอยกระทง

           ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ งานลอยกระทงจะเรียกว่า เทศกาลไหลเรือไฟ โดยจัดเป็นประเพณียิ่งใหญ่ทุกปีในจังหวัดนครพนม มีการนำหยวกกล้วย หรือวัสดุต่าง ๆ มาตกแต่งเรือ และประดับไฟอย่างสวยงาม และตอนกลางคืนจะมีการจุดไฟปล่อยกระทงให้ไหลไปตามลำน้ำโขง

           กรุงเทพมหานคร มีการจัดงานลอยกระทงหลายแห่ง แต่ที่เป็นไฮไลท์อยู่ที่ "งานภูเขาทอง" ที่จะเนรมิตงานวัดเพื่อเฉลิมฉลองประเพณีลอยกระทง ส่วนใหญ่จัดอยู่ราว 7-10 วัน ตั้งแต่ก่อนวันลอยกระทง จนถึงหลังวันลอยกระทง

ลอยกระทง

           ภาคใต้ มีการจัดงานลอยกระทงในหลาย ๆ จังหวัด เช่น อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ที่มีงานยิ่งใหญ่ทุกปี


กิจกรรมในวันลอยกระทง
          ในปัจจุบันมีการจัดงานลอยกระทงทุก ๆ จังหวัด ซึ่งจะมีกิจกรรมแตกต่างกันไปในแต่ละสถานที่ แต่กิจกรรมที่มีเหมือน ๆ กันก็คือ การประดิษฐ์กระทง โดยนำวัสดุต่าง ๆ ทั้งหยวกกล้วย ใบตอง หรือจะเป็นกาบพลับพลึง เปลือกมะพร้าว ฯลฯ มาประดับตกแต่งด้วยดอกไม้ ธูป เทียน เครื่องสักการบูชา ให้เป็นกระทงที่สวยงาม ภายหลังมีการใช้วัสดุโฟมที่สามารถประดิษฐ์กระทงได้ง่าย แต่จะทำให้เกิดขยะที่ย่อยสลายยากขึ้น จึงมีการรณรงค์ให้เลิกใช้กระทงโฟมเพื่อพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ก่อนจะมีการดัดแปลงวัสดุทำกระทงให้หลากหลายขึ้น เช่น กระทงขนมปัง กระทงกระดาษ กระทงพลาสติกชนิดพิเศษ เพื่อให้ย่อยสลายง่ายและไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม

ลอยกระทง

ลอยกระทง

ลอยกระทง

          เมื่อไปถึงสถานที่ลอยกระทง ก่อนทำการลอยก็จะอธิษฐานในสิ่งที่ปรารถนาขอให้ประสบความสำเร็จ หรือเสี่ยงทายในสิ่งต่าง ๆ จากนั้นจึงปล่อยกระทงให้ลอยไปตามสายน้ำ และในกระทงมักนิยมใส่เงินลงไปด้วย เพราะเชื่อกันว่าเป็นการบูชาพระแม่คงคา

          นอกจากการลอยกระทงแล้ว มักมีกิจกรรมประกวดนางนพมาศอันเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของประเพณีลอยกระทง และตามสถานที่จัดงานจะมีการประกวดกระทง ขบวนแห่ มหรสพสมโภชต่าง ๆ บางแห่งอาจมีการจุดพลุ ดอกไม้ไฟเฉลิมฉลองด้วย

ลอยกระทง



เพลงประจำเทศกาลลอยกระทง

          เมื่อเราได้ยินเพลง "รำวงลอยกระทง" ที่ขึ้นต้นว่า "วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง..." นั่นเป็นสัญญาณว่าใกล้จะถึงวันลอยกระทงแล้ว ซึ่งเพลงนี้เป็นที่คุ้นหูของทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ เพราะในต่างประเทศมักเปิดเพลงนี้ต้อนรับนักท่องเที่ยว เพื่อแสดงถึงความเป็นประเทศไทย

          เพลงรำวงวันลอยกระทงแต่งโดยครูแก้ว อัจฉริยกุล ผู้ให้ทำนองคือ ครูเอื้อ สุนทรสนาน แห่งสุนทราภรณ์ ซึ่งครูเอื้อได้แต่งเพลงนี้ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2498 ขณะที่ได้ไปบรรเลงเพลงที่บริเวณคณะบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมีผู้ขอเพลงจากครูเอื้อ ครูเอื้อจึงนั่งแต่งเพลงนี้ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในระยะเวลาเพียงครึ่งชั่วโมงจึงเกิดเป็นเพลง "รำวงลอยกระทง" ที่ติดหูกันมาทุกวันนี้ มีเนื้อร้องว่า

          วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง 
          เราทั้งหลายชายหญิง 
          สนุกกันจริง วันลอยกระทง 
          ลอย ลอยกระทง ลอย ลอยกระทง 
          ลอยกระทงกันแล้ว 
          ขอเชิญน้องแก้วออกมารำวง 
          รำวงวันลอยกระทง รำวงวันลอยกระทง 
          บุญจะส่งให้เราสุขใจ บุญจะส่งให้เราสุขใจ 

          เอ้า... ใครที่ยังไม่มีโปรแกรมไปเที่ยวที่ไหน ก็อย่าลืมชวนครอบครัว หรือเพื่อน ๆ มาร่วมกันสานต่อประเพณีที่ดีงามนี้ไว้นะค่ะ อ่อ... และอย่าลืมใช้กระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติด้วยล่ะ เพราะนอกจากจะไปลอยกระทงเพื่ออนุรักษ์ประเพณีแล้ว ยังจะเป็นการช่วยอนุรักษ์ธรรมชาติไว้อีกต่อหนึ่งด้วยค่ะ